ค้นเจอ 348 รายการ

ทับศัพท์

หมายถึงว. ที่รับเอาคำของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.

กลวม

หมายถึง[กฺลวม] (โบ) ก. กรวม, สวม; ทับ เช่น บงงเมฆกลวมกลุ้มหล้าหล่อแสง. (ยวนพ่าย).

โกณก,โกณะ

หมายถึง[-นก] (แบบ) น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทกเพ็ญพยง. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป.).

ขะแถก

หมายถึง(ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คำหลวง มหาราช).

ชคัตตรัย

หมายถึง[ชะคัดไตฺร] (แบบ) น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอดของโลก ๓. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

ตี่

หมายถึงน. เรียกตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทำให้เบิกตากว้างไม่ได้ ว่า ตาตี่.

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

จิตระ,จิตรา

หมายถึง[จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดำบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).

จรุง,จรูง

หมายถึง[จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).

จิตภาพ

หมายถึง[จิดตะ-] น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้หมายถึงวิสัยสามารถของจิต. (อ. mentality).

จิตเวชศาสตร์

หมายถึง[จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).

มะปริง

หมายถึง[-ปฺริง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn. ในวงศ์ Anacardiaceae คล้ายมะปรางแต่ผลมีรสเปรี้ยว.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ