ค้นเจอ 274 รายการ

สั่งเสีย

หมายถึงก. เตือน, กำชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.

ขันสาคร

หมายถึงน. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ.

ห่าง,ห่าง ๆ

หมายถึงว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ห่างไกล; ไม่ชิด เช่น ญาติห่าง ๆ, ไม่ถี่ เช่น มีลูกห่าง.

บานพับ

หมายถึงน. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.

มุ้งลวด

หมายถึงน. มุ้งที่ทำด้วยตาข่ายลวดตาละเอียด, โดยอนุโลมเรียกห้องที่ใช้ตาข่ายลวดตาละเอียดกรุประตู หน้าต่าง และช่องลมเพื่อกันยุงหรือแมลงว่า ห้องมุ้งลวด.

หูตูบ

หมายถึงน. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทำงานอย่างหนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.

บาน

หมายถึงน. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บานกระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน. ว. ที่ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.

ปรบ

หมายถึง[ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.

หมั่นไส้

หมายถึงก. ชังนํ้าหน้า, รู้สึกขวางหูขวางตา; (ปาก) ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก), เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า.

สาคร

หมายถึง[-คอน] น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร.

ผัสส,ผัสส-,ผัสสะ

หมายถึงน. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).

อ้าซ่า

หมายถึงว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขาอ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ