ค้นเจอ 2,878 รายการ

คฤหา

หมายถึง(กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่าน นะพ่อ. (โลกนิติ).

ต้นคิด

หมายถึงน. ผู้ประดิษฐ์แบบขึ้นใหม่, ผู้ริเริ่ม.

ฉัพพรรณรังสี

หมายถึง[ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).

ปาโมกข์

หมายถึงน. ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้เป็นประธาน. (ป.).

รโหคต

หมายถึงว. ผู้ไปในที่ลับ, ผู้อยู่ในที่สงัด. (ป.).

หัวหกก้นขวิด

หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตามความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.

ภาณกะ

หมายถึง[พานะกะ] (แบบ) น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก. (ป.).

กระทงแถลง

หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ส่วนสำคัญในสำนวนความที่เป็นประเด็นและที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.

กรัณย์

หมายถึง[กะรัน] น. กิจ. ว. อันพึงทำ เช่น ราชกรัณย์. (ป. กรณีย).

พระบรมสาทิสลักษณ์

หมายถึงสาทิส (สา-ทิ-สะ) แปลว่า เหมือนหรือคล้าย กับคำว่า ลักษณ์ แปลว่า รูปหรือรูปร่าง เมื่อรวมกันเป็น สาทิสลักษณ์ จึงแปลว่า ภาพวาดเหมือน

สูจกะ

หมายถึง[-จะกะ] น. ผู้ชี้แจง; ผู้นำจับ; ผู้ส่อเสียด. (ป., ส.).

คเนจร

หมายถึง[คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปในท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ