ค้นเจอ 909 รายการ

อังคุตรนิกาย

หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.

ทรนาว,ทระนาว

หมายถึง[ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).

กำนัล

หมายถึงน. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับพระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม เรียกว่า นางกำนัล.

เคณฑะ

หมายถึง[เคนทะ] น. ลูกข่าง, ใช้ในคำว่า พระราชพิธีเคณฑะ คือ พระราชพิธีทิ้งข่าง. (สิบสองเดือน). (ป. เคณฺฑ).

เจ้าครอก

หมายถึง(โบ) น. เจ้าโดยกำเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรสและพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าว่า เจ้าครอก.

มิ

หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).

ลงท่า

หมายถึงน. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการเรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน; พิธีนำช้างลงสรงสนานที่ท่า.

ประติมากร

หมายถึง[ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

พระวรกาย

หมายถึงร่างกาย

จตุรมุข

หมายถึง(กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.

จุลอุปรากร

หมายถึงน. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบทสนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ