ค้นเจอ 1,979 รายการ

เพคะ

หมายถึงว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้เพ็ดทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป.

อ้าง

หมายถึงก. ระบุ, บ่งถึง, เช่น อ้างพยาน; กล่าวถึง, ชี้เป็นหลัก, เช่น อ้างบาลี; ถือเอา เช่น อ้างสิทธิ.

โหวง

หมายถึง[โหฺวง] ว. มาก เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวง หมายความว่า เบามาก.

อุปสรรค

หมายถึง[อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่องขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.

วจะ

หมายถึง[วะ-] (แบบ) น. คำพูด, ถ้อยคำ, คำกล่าว. (ป.; ส. วจสฺ).

สวนีย,สวนีย-

หมายถึง[สะวะนียะ-] น. คำที่น่าฟัง, คำไพเราะ. (ป.; ส. ศฺรวณีย).

เหวง

หมายถึง[เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.

มาติกา

หมายถึง[มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.; ส. มาตฺฤกา).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.

ราชบัณฑิต

หมายถึง[-บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.

สกรรถ

หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ