ค้นเจอ 302 รายการ

หฤษฎ์

หมายถึง[หะริด] ว. น่าชื่นชม, ยินดี; สนุก, สบาย, ดีใจ. (ส. หฺฤษฺฏ; ป. หฏฺ).

ตบมือ

หมายถึงก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า.

โมทนา

หมายถึง[โมทะนา] ก. พลอยบันเทิง, พลอยยินดี. (ตัดมาจาก อนุโมทนา). (ป., ส. โมทน).

อุปสมบัน,อุปสัมบัน

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. (ป. อุปสมฺปนฺน).

สัตตาหกรณียะ

หมายถึง[สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.

รติ

หมายถึงน. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกำหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).

หน้าเฉย

หมายถึงว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ใด ๆ.

อภิรมย์

หมายถึงก. รื่นเริงยิ่ง, ดีใจยิ่ง, ยินดียิ่ง; พักผ่อน; ใช้ว่า ภิรมย์ ก็มี. (ส.; ป. อภิรมฺม).

ธุดงคญ,ธุดงค์

หมายถึงน. องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).

อนุจร

หมายถึง[อะนุจอน] น. ผู้ประพฤติตาม, ผู้ติดตาม; เรียกพระภิกษุลูกวัดว่า พระอนุจร, พระอันดับ ก็เรียก. (ป., ส.).

มัชฌิมภูมิ

หมายถึง[-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).

นมักการ

หมายถึงน. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้; คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ