ค้นเจอ 194 รายการ

วาง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจำที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.

แรงงาน

หมายถึงน. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้องอาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากรในวัยทำงาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากำไร เช่น วันแรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของชาวบ้าน; ความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทำในการผลิตเศรษฐทรัพย์.

ตะขาบ

หมายถึงน. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สำหรับชักให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตีกันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.

รีด

หมายถึงก. บีบ รูด หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แผ่ กว้าง ยาว หรือเรียบ เป็นต้น ตามที่ต้องการ, กดแรง ๆ และไถเพื่อทำให้เรียบ เช่น รีดผ้า รีดใบตอง รีดกลีบบัว, บีบทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นยาว เช่น รีดทอง รีดยาง, บีบรูดด้วยอาการเค้นเพื่อให้สิ่งที่อยู่ภายในออกมา เช่น รีดนมวัว รีดไส้หมู รีดหนอง; (ปาก) ใช้กำลังหรืออิทธิพลบังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น รีดเอาเงิน รีดเอาทรัพย์, ใช้ว่า รีดไถ ก็มี.

วิตามิน

หมายถึงน. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการแต่เพียงจำนวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วยต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).

ทวน

หมายถึงน. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดรูปพรรณ อีกข้างหนึ่งสำหรับยึดกับฐานที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อนั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลายคันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสำหรับรองตะคันอบนํ้าหอม.

ตี

หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.

ชัก

หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

กระชัง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้.

ยาเสพติดให้โทษ

หมายถึง(กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่.

ทิ้ง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วยอาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อหนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่า ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล พูดทิ้งไว้ที.

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ