ตัวกรองผลการค้นหา
เถอะน่า
หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
หมวด กริยา
อยู่
หมายถึง[หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
กริยาวิเศษณานุประโยค
หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.
หน้าเริด
หมายถึงว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มาแต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา, หน้าตั้ง ก็ว่า.
อาราม
หมายถึงว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทำการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นำหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.
ได้
หมายถึงก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้ายคำกริยา มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สำเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.
เป็น
หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
อัตตโนบท
หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
ผาด,ผาด ๆ
หมายถึงว. ผ่านหรือเคลื่อนไปเร็ว (มักใช้แก่กริยาเห็น), มองแต่เผิน ๆ ไม่ถี่ถ้วน, เช่น มองผาด เห็นผาด ๆ ดูผาด ๆ.
ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ
หมายถึงว. ใช้นำหน้ากริยาหมายความว่า ไม่รีบร้อน, อย่างระมัดระวัง, ช้า ๆ, เช่น ค่อยคิดค่อยทำ ค่อย ๆ เดิน.
โลเล
หมายถึงว. ไม่แน่นอน (มักใช้แก่นิสัยใจคอ) เช่น มีจิตใจโลเล, ไม่อยู่กับร่องกับรอย (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดจาโลเล.
สกรรมกริยา
หมายถึง[สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.