ค้นเจอ 229 รายการ

คูหา

หมายถึงน. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดยอนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตรออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.

วิ่งเปี้ยว

หมายถึงน. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตีฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.

ตนุ

หมายถึง[ตะหฺนุ] น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas ในวงศ์ Cheloniidae ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายนํ้า เกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น.

เขี้ยวหนุมาน

หมายถึงน. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอดแหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาวขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดำ.

ราย

หมายถึงน. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณาเป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนามใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลำดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.

ลายเฉลว ๘ มุม

หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานพื้นเก้าอี้ พื้นเปล เป็นต้น สานด้วยหวาย วิธีสานวางตอกเป็นคู่ ๆ สานตอกแต่ละคู่เป็นลายขัดทุก ๆ คู่และสานให้มีลักษณะเป็นตาสี่เหลี่ยม แล้วร้อยตอกขัดมุมทั้ง ๔ มุม จะเกิดเป็นตาแปดเหลี่ยม.

จตุสดมภ์

หมายถึงน. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

จักรราศี

หมายถึงน. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจำของดวงอาทิตย์ซึ่งดูเสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้ ๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทางโหราศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. (ส.).

กฤษฎา,กฤษฎา,กฤษฎาญ,กฤษฎาญชลิต,กฤษฎาญชลี,กฤษฎาญชวลิตวา,กฤษฎาญชวลิศ,กฤษฎาญชวเลศ,กฤษฎาญชุลี

หมายถึง[กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด, -ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คำหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).

ศักดินา

หมายถึงน. (โบ) อำนาจปกครองที่นา คิดเป็นจำนวนไร่ต่างกันตามศักดิ์ของแต่ละคน เช่น พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า มีศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ ยาจก วรรณิพก ทาษ ลูกทาษ มีศักดินา ๕ ไร่. (สามดวง); (ปาก) คำประชดเรียกชนชั้นสูงหรือผู้ดีมีเงินว่าพวกศักดินา.

เรือตรวจการณ์

หมายถึงน. เรือรบขนาดเล็ก มีความเร็วปานกลาง มีหน้าที่ตรวจดูเหตุการณ์เพื่อรักษาฝั่ง มีอาวุธต่าง ๆ ตามภารกิจของเรือแต่ละลำ เช่น เรือตรวจการณ์ (ปืน) เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือตรวจการณ์ลำน้ำ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ