ค้นเจอ 193 รายการ

อักษรเลข

หมายถึง[อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตำแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทำหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.

บุรุษ,บุรุษ-

หมายถึง[บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะที่สุภาพ; (ไว) คำบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คำบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คำบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).

กระทง

หมายถึงว. ใช้ควบกับคำ รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สำหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอนขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกำลังแตกเนื้อหนุ่มเป็นเชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.

กระพอก

หมายถึงน. กล่องสานมีฝาครอบสำหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสำหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).

บ้าลำโพง

หมายถึงว. บ้าเพราะกินเมล็ดลำโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป. (คาวี), ทำโมโหโกรธาบ้าลำโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).

ศร

หมายถึง[สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).

หล่อน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สำหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

คุณ,คุณ,คุณ-

หมายถึง[คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป; (ไว) คำแต่งชื่อ. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.

ประภัสสร

หมายถึง[ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).

เกสร

หมายถึง[-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).

ตรีกาย

หมายถึงน. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).

ปริยาย

หมายถึง[ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ