ค้นเจอ 182 รายการ

มองคร่อ

หมายถึง[-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอย อาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).

กระทั่ง

หมายถึงก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทำให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.

บ่อน้ำร้อน

หมายถึงน. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึกมาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทำให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัวหรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหินและดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกำมะถันและแก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.

เรือกำปั่น

หมายถึงน. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.

กำปั่น

หมายถึงน. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).

ศุกร,ศุกร-,ศุกร์

หมายถึง[สุกกฺระ-, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. ว. สว่าง. (ส.).

จิงโจ้

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลำตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาวหรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่าลำตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล Limnogonus, จิงโจ้นํ้า ก็เรียก.

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

วาฬ

หมายถึง[วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลาโผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.

เลย

หมายถึงก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้านไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำกริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลย ไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋าเลย. สัน. จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้ายไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.

อัยการ

หมายถึง[ไอยะ-] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

แม่

หมายถึงน. หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทำครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจำพวกสิ่งที่สำหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ