ค้นเจอ 194 รายการ

กระวิน

หมายถึงน. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทำด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน.

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

นาคาวโลก

หมายถึง[-คาวะ-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

รัฐมนตรี

หมายถึง[รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.

อินทราภิเษก

หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.

มารวิชัย

หมายถึง[มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).

ดุษฎีมาลา

หมายถึงน. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษประจำเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.

ประคอง

หมายถึงก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.

รัสสระ

หมายถึง[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ