ค้นเจอ 269 รายการ

อริย-

หมายถึง[อะริยะ-] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.

ลูกทอย

หมายถึงน. ไม้แหลมสำหรับตอกต้นไม้เป็นต้นเพื่อเหยียบขึ้นไป, เหล็กแหลมหรือตะปูที่ตอกเข้ากับหุ่นขี้ผึ้งให้ติดกับแกนในสำหรับพยุงพิมพ์ดินให้คงที่ในการหล่อโลหะเช่นพระพุทธรูป.

อริยะ

หมายถึง[อะริยะ-] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.

หุ้มแผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.

สมณบริขาร

หมายถึงน. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).

โมกษะพยาน

หมายถึง(กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนาซึ่งไม่จำต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยานก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้.

นาภิ

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

ลายเบา

หมายถึงน. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบาบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.

นาภี

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

ธรณีสูบ

หมายถึงก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลงหายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.

ชาว

หมายถึงน. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรืออยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมีอาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง หรือนับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ