ค้นเจอ 253 รายการ

ควร

หมายถึง[ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคำช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทำ ควรกิน.

เสียหน่อย

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความอ้อนวอนหรือความไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น กินเสียหน่อยนะ ไปงานเขาเสียหน่อย ทำเสียหน่อย.

ย่อม

หมายถึงคำช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.

อ๋อย

หมายถึงว. คำใช้ขยายกริยา คราง ในคำว่า ครางอ๋อย; ใช้เน้นแสดงว่ามาก ในคำว่า เหลืองอ๋อย.

ยัง

หมายถึงคำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.

กะบึงกะบอน

หมายถึงก. โกรธอย่างแสนงอน, กะบอนกะบึง ก็ว่า. ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยา บ่น), กะบอนกะบึง ก็ว่า.

เถิด

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.

หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่

หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

มับ

หมายถึงว. คำสำหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.

จง

หมายถึงเป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.

กริยาวิเศษณ์วลี

หมายถึง(ไว) น. ท่อนความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.

ต๋อม

หมายถึงว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ