ค้นเจอ 193 รายการ

โสตทัศนอุปกรณ์

หมายถึง[โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน] น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่น วิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.

บาป,บาป-

หมายถึง[บาบ, บาบปะ-] น. การกระทำผิดหลักคำสอนหรือข้อห้ามในศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).

สัทอักษร

หมายถึง[สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).

ปาฏิหาริย์

หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).

คำเทียบ

หมายถึงน. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ กง.

นวก,นวก-,นวก-

หมายถึง[นะวะกะ-] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจำนวน ๙ ทุกอย่าง เช่น รัตนะ ๙ คำสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ในหมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).

กษัตรี

หมายถึง[กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

บอก

หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.

ตรีปิฎก

หมายถึงน. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่งเรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).

บุญ,บุญ-

หมายถึง[บุน, บุนยะ-] น. การกระทำดีตามหลักคำสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ; ส. ปุณฺย).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ