ค้นเจอ 318 รายการ

สั่งสอน

หมายถึงก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็นคนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.

อักษรลักษณ์

หมายถึง[อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอนมักใช้ว่า ลักษณ์.

ศาสนธรรม

หมายถึงน. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.

อักษรสาส์น

หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.

อุปเทศ

หมายถึง[อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนำ; คำสั่งสอน, คำชี้แจง, คำแนะนำ. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนำ. (ส., ป. อุปเทส).

เสี้ยมสอน

หมายถึงก. สอนโดยยุยงให้ใช้เล่ห์กล เช่น เขาถูกเสี้ยมสอนให้กระด้างกระเดื่องต่อฝ่ายปกครอง เขาเสี้ยมสอนลูกให้เป็นโจร.

อักษรศาสตร์

หมายถึง[อักสอระสาด, อักสอนสาน] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.

เหมาะ

หมายถึงว. ดี เช่น ได้โอกาสเหมาะ, พอดี เช่น กำลังเหมาะ, สมควร เช่น โอกาสนี้ไม่เหมาะจะเข้าพบผู้ใหญ่, คู่ควร เช่น ๒ คนนี้เหมาะกัน.

ฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

เถร,เถร-,เถระ

หมายถึง[เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).

หิรัญบัฏ

หมายถึง[หิรันยะบัด] น. แผ่นเงินที่จารึกราชทินนามสำหรับพระราชทานแก่พระสงฆ์และขุนนางผู้ใหญ่.

ปิฎก

หมายถึงน. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ