ค้นเจอ 290 รายการ

ต้มข่า

หมายถึงน. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้มยำกะทิ แต่มักใช้เนื้อไก่ ใส่ข่าอ่อน ปรุงรสด้วยนํ้าพริกเผา นํ้าปลา มะนาว พริกขี้หนู.

มอบ

หมายถึงน. เครื่องสานสำหรับสวมปากวัวปากควายเพื่อกันไม่ให้กินต้นกล้าและสวมปากม้าเพื่อกันม้ากัด.

เดรัจฉาน

หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี.

กัทลี

หมายถึง[กัดทะลี] (แบบ) น. กล้วย เช่น คิดพ่างผลกัทลี ฆ่ากล้วย. (โลกนิติ). (ป., ส. กทลี).

ดูชา

หมายถึงก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความเราจงมิด. (ลอ.)

เอื้อง

หมายถึงน. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายกินเข้าไปในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสำรอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง. ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียดว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง; โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ.

ขี้แต้

หมายถึงน. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมาจากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้.

ส้มตำ

หมายถึงน. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตำประสมกับเครื่องปรุงมี กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม.

ฆาต,ฆาต-

หมายถึง[คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทำลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลองเร่งกองรบ. (อภัย).

มิหนำซ้ำ

หมายถึงว. เท่านี้ยังไม่เพียงพอ, หนักยิ่งไปกว่านั้นอีก, เช่น ตัดเท้าตัดกรแล้วมิหนำ ซ้ำฆ่าสุริย์วงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์).

ทุย

หมายถึงว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทำกราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็นคำเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.

ปาณาติบาต

หมายถึงน. การทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ, การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่น ทำปาณาติบาต หากินทางปาณาติบาต. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ