ค้นเจอ 230 รายการ

ชม

หมายถึงก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของในร้าน, ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้.

เท้า

หมายถึงน. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.

ลงเลขลงยันต์

หมายถึงก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.

โคล

หมายถึง[โคน] น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

เสียกำได้กอบ,เสียกำแล้วได้กอบ

หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เช่น เสียหนึ่งนิ่งไว้นานไปคงได้สอง เสมือนหนึ่งของท่านหายมีที่ไว้ ข้าพเจ้าคงจะหามาให้ไม่ให้เดือดร้อน ยอมเสียกำไปก่อนนั่นแหละ จึงจะได้กอบ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

กุนที

หมายถึง[กุนนะที] น. แม่นํ้าน้อย ๆ, แม่นํ้าเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + นที = แม่นํ้า).

วิสัญญี

หมายถึงว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).

กลอน

หมายถึง[กฺลอน] น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.

นาง

หมายถึงใช้แทนคำว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคำเพื่อความสุภาพ เช่น นางรม นางแอ่น. (ดู อี). น. คำเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น, พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.

เสียงแข็ง

หมายถึงว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียงเสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว; อาการที่พูดด้วยน้ำเสียงไม่สุภาพ เช่น อย่าพูดเสียงแข็งกับพ่อแม่. น. คะแนนเสียงดี เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่.

วะ

หมายถึงว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคยเป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.

ฮ้าเฮ้ย

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อดุว่าหรือห้ามเป็นต้น เช่น ฮ้าเฮ้ยเด็กน้อยถอยขยายเสือร้ายจะเดินทาง อย่าเข้ามาขวางจังหวะทำโว้เว้ (ม. ร่ายยาว กุมาร), ฮะเฮ้ย ก็ว่า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ