ค้นเจอ 246 รายการ

ตะโกก

หมายถึงน. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควายสำหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโหงก ก็เรียก.

ผึง

หมายถึงว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.

แตรงอน

หมายถึงน. แตรที่มีลักษณะปลายบานและโค้งงอนอย่างเขาควาย ใช้ในงานพระราชพิธี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตราษาฒ มี ๕ ดวง, ดาวราชสีห์ตัวเมีย ดาวอุตตรอาษาฒ หรือ ดาวอุตตราสาฬหะ ก็เรียก.

ตะโหงก

หมายถึง[-โหฺงก] น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควายสำหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโกก ก็เรียก.

ลอยชาย

หมายถึงว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.

ตีแปลง

หมายถึง[-แปฺลง] ก. ทำดินโคลนให้เป็นแอ่งสำหรับนอนเกลือก (ใช้แก่ควาย หมู); อาการที่ปลากัดต้นไม้เช่นต้นข้าวสำหรับวางไข่; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นอนตีแปลง.

กระดึง

หมายถึงน. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.

โถง

หมายถึงว. ที่เปิดโล่งแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รถโถง คือรถที่เปิดหลังคาได้ เรือโถง คือเรือที่ปรกติมีประทุน แต่เปิดประทุนออก, เรียกห้องขนาดใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ ว่า ห้องโถง.

สมบุกสมบัน

หมายถึงว. ทนลำบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบันจึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนาอย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.

ปลง

หมายถึง[ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับคำอื่น มีความหมายต่าง ๆ.

วิญญาณกทรัพย์

หมายถึง[วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.

เกก

หมายถึงว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ