ค้นเจอ 188 รายการ

ค้างคาว

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลำตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลากลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteropus vampyrus) ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน (Pipistrellus javanicus) ในวงศ์ Vespertilionidae.

แอว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อกลองยาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ทำด้วยลำท่อนไม้ขุดไส้ในออกให้กลวงแล้วขึงด้วยหนังสัตว์ทางด้านปากกลองเพียงด้านเดียว จากด้านปากกลองมีลักษณะสอบเข้าคล้ายเอว ตอนปลายบานผายออกคล้ายดอกลำโพง. (พายัพ แอว ว่า เอว).

ปก

หมายถึงก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้าหรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.

หว้า

หมายถึงน. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Argusianus argus ในวงศ์ Phasianidae ตัวสีน้ำตาล หนังบริเวณใบหน้าและคอสีฟ้า ตัวผู้หางยาวและมีแววขนที่ปีก ในฤดูผสมพันธุ์จะรำแพนปีกเกี้ยวตัวเมียโดยสร้างอาณาเขตเดินเป็นวงกลม เรียกว่า ลานนกหว้า.

เสก

หมายถึงก. ร่ายมนตร์เพื่อทำให้ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เสกน้ำล้างหน้า เสกแป้งผัดหน้า, ร่ายมนตร์เพื่อทำให้สิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เสกหญ้าให้เป็นหุ่นพยนต์ เสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน, ร่ายมนตร์เพื่อให้เกิดพลังส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปทำร้ายศัตรู เช่น เสกหนังเข้าท้อง.

โทน

หมายถึงน. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสำหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียวคล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. ว. มีจำเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.

ฆ้องวง

หมายถึงน. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยหนังตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.

หมู

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย (๑).

คอ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลำต้นของพรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร

ตูหนา

หมายถึงน. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด Anguilla bicolor ในวงศ์ Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลำตัวกลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็กฝังแน่นอยู่ในหนัง ลำตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบดำเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร.

กระบาล

หมายถึง[-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).

กระสอบทราย

หมายถึงน. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ