ค้นเจอ 159 รายการ

ร่วม

หมายถึงก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้าน ร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติ มีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทำมาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.

ติดเชื้อ

หมายถึงก. รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และเชื้อนั้นเจริญในร่างกาย มักแสดงอาการเจ็บป่วย เช่น เขาติดเชื้อมาจากผู้อื่น; (ปาก) รับเอานิสัยหรือพฤติกรรมบางอย่างของคนที่อยู่รอบข้างเป็นต้นมาใช้หรือเป็นแบบอย่าง เช่น เขาติดเชื้อพูดคำหยาบมาจากเพื่อน. ว. ลักษณะของโรคที่รับเชื้อมาจากผู้อื่นหรือสิ่งอื่น, เรียกโรคที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า โรคติดเชื้อ.

ส่วน

หมายถึงน. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทำบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉันไปเชียงใหม่.

นหาดก

หมายถึง[นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คำบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สำหรับเรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทำพิธีอาบนํ้า ซึ่งจำต้องกระทำเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสำนักอาจารย์ และตั้งต้นเป็นผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอาท่านที่ชำระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).

เลี้ยง

หมายถึงก. ดูแล, เอาใจใส่, บำรุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า; ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ; กินร่วมกันเพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์; (ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.

นาง

หมายถึงน. คำประกอบหน้าคำเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบำเรอ นางละคร นางพระกำนัล; คำแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คำนำหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมียโดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.

ข่ม

หมายถึงก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้นที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.

สนิท

หมายถึง[สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).

วัวพันหลัก

หมายถึง(สำ) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

หา

หมายถึงก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.

รับ

หมายถึงก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.

ทิ้ง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วยอาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อหนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่า ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล พูดทิ้งไว้ที.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ