ค้นเจอ 155 รายการ

จตุรงคยมก

หมายถึง[จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).

ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ

หมายถึง[สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

แอลกอฮอล์

หมายถึงน. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕ °ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภทแป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะออกฤทธิ์ทำให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทำละลาย และเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).

ชา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในหลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้ปลูกเป็นรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.

เบญจมาศ

หมายถึง[เบนจะมาด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. ในวงศ์ Compositae ใบหนา ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบเมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับนํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย.

ทวีป

หมายถึง[ทะวีบ] น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป; (โบ) เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป; ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่ามี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. (ส.; ป. ทีป).

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

รัตน,รัตน-,รัตน์,รัตนะ

หมายถึง[รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคำอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

สงฆ์

หมายถึงน. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).

กะ-

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

กะ

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ