ค้นเจอ 243 รายการ

พรหมวิหาร

หมายถึง[พฺรมมะ-, พฺรม-] น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).

กถามรรค

หมายถึง[-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).

ตรีรัตน์

หมายถึงน. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. (ส. ตฺริรตน).

ธรรมันเตวาสิก

หมายถึง[ทำมัน-] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).

ทาน,ทาน,ทาน-

หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).

กลั่น

หมายถึง[กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.

ไตรสรณาคมน์

หมายถึง[-สะระนาคม] น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

ทำนอง

หมายถึงน. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำนองคลองธรรม ทำนองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทำนองสวด ทำนองเทศน์ ทำนองเพลง.

ไตรสรณคมน์

หมายถึง[-สะระนะคม] น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

เทศน์,เทศนา

หมายถึง[เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).

อมต,อมต-,อมตะ

หมายถึง[อะมะตะ-, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).

อนุสติ

หมายถึง[อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ