ค้นเจอ 281 รายการ

อุเบกขา

หมายถึงน. ความเที่ยงธรรม, ความวางตัวเป็นกลาง, ความวางใจเฉยอยู่, เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป. อุเปกฺขา).

อวิโรธนะ

หมายถึง[อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

นัย

หมายถึง[ไน, ไนยะ] น. ข้อสำคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย).

สุดปัญญา

หมายถึงว. ใช้ปัญญาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น เลขข้อนี้คิดจนเกือบสุดปัญญาจึงทำได้ ฉันช่วยเขาจนสุดปัญญาแล้วก็ยังไม่สำเร็จ.

อวิโรธน์

หมายถึง[อะวิโรด] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

ธรรมาธิษฐาน

หมายถึง[ทำมาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺาน).

เสียสมอง

หมายถึงก. สิ้นเปลืองความคิด เช่น เรื่องนี้คิดไปก็เสียสมองเปล่า ๆ ปัญหาข้อนี้ยากมาก เสียสมองอยู่นานกว่าจะคิดออก, เสียหัว ก็ว่า.

ความเห็น

หมายถึงน. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.

ข้อหา

หมายถึงน. คำกล่าวโทษ; (กฎ) คำกล่าวหาบุคคลว่าได้กระทำความผิดอาญา; คำกล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลในทางแพ่ง.

นาฟางลอย

หมายถึงน. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร, นาเมือง ก็เรียก.

ยูริก

หมายถึงน. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C5H4N4O3 ลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีปรากฏอยู่เป็นจำนวนน้อยในปัสสาวะและในโลหิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ คือมีอาการบวมปวดบริเวณข้อกระดูก จะปรากฏมีเกลือโซเดียมและโพแทสเซียมของกรดนี้เกาะอยู่ที่ข้อกระดูกนั้น ๆ เรียกว่า กรดยูริก.

ประกอบ

หมายถึงก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์; ทำ เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ