ค้นเจอ 318 รายการ

นักเทศ

หมายถึงน. คนต่างประเทศที่สำหรับใช้ในราชสำนัก เช่น นักเทศจงไปสั่งการ พนักงานของใครให้ขวายขวน. (สังข์ทอง).

อินทราภิเษก

หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.

พลัด

หมายถึง[พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.

คุยหฐาน

หมายถึง(ราชา) น. อวัยวะที่ลับ ใช้ว่า พระคุยหฐาน. (ป. คุยฺห + ฐาน; ป. คุยฺห + ส. ปฺรเทศ).

คุยหประเทศ

หมายถึง(ราชา) น. อวัยวะที่ลับ ใช้ว่า พระคุยหฐาน. (ป. คุยฺห + ฐาน; ป. คุยฺห + ส. ปฺรเทศ).

อาโปกสิณ

หมายถึง[-กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอาธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.

บทวเรศ

หมายถึง[บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).

ปล้นทรัพย์

หมายถึง(กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐานปล้นทรัพย์.

จอม

หมายถึงน. ยอดที่สูงสุดของสิ่งที่มีฐานใหญ่ปลายเรียวเล็กขึ้นไป เช่น จอมเขา; ผู้ที่ยอดเยี่ยมในหมู่ เช่น จอมโจร.

ดรรชนี

หมายถึง[ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number).

เกริน

หมายถึง[เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.

ไกรสิทธิ

หมายถึง[ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คำหลวง มัทรี).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ