ค้นเจอ 237 รายการ

สนามหลวง

หมายถึงน. สถานซึ่งกำหนดให้เป็นที่สอบไล่นักธรรมและบาลี ในคำว่า สอบธรรมสนามหลวง สอบบาลีสนามหลวง.

ติดกัณฑ์เทศน์

หมายถึงก. เอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์, เอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์.

สกทาคามิผล,สกิทาคามิผล

หมายถึง[สะกะ-, สะกิ-] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).

เญยธรรม,ไญยธรรม

หมายถึง[เยยยะทำ, ไยยะทำ] (แบบ) น. ธรรมที่ควรรู้. (ป. เยฺย + ส. ธรฺม).

ทุกนิบาต

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กำหนดด้วยธรรมหรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).

ธรรมธาดา

หมายถึงน. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).

ศาลากลางย่าน

หมายถึงน. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.

ธรรมาธิปไตย

หมายถึง[ทำมาทิปะไต, ทำมาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, การถือความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย).

อาบัน

หมายถึงก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ; ถึง, ลุ, เช่น โสดาบัน ว่า ถึงโสตธรรม คือ กระแสพระนิพพาน. (ป., ส. อาปนฺน).

เรียกร้อง

หมายถึงก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้องขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.

พรหมวิหาร

หมายถึง[พฺรมมะ-, พฺรม-] น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).

กถามรรค

หมายถึง[-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ