ค้นเจอ 141 รายการ

สามเกลอ

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๓ ที่; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ มีไส้หน้ากระฉีก ร้อยด้วยตอกให้ติดกัน ๓ ก้อน แล้วนำไปทอด.

จี้

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิแล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก.

แอว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อกลองยาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ทำด้วยลำท่อนไม้ขุดไส้ในออกให้กลวงแล้วขึงด้วยหนังสัตว์ทางด้านปากกลองเพียงด้านเดียว จากด้านปากกลองมีลักษณะสอบเข้าคล้ายเอว ตอนปลายบานผายออกคล้ายดอกลำโพง. (พายัพ แอว ว่า เอว).

ขมวน

หมายถึง[ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.

แมลงวันทอง

หมายถึงน. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Trypetidae หรือ Tephritidae รูปร่างคล้ายแมลงวันและมีขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน แต่ที่อกและท้องพื้นสีน้ำตาลแก่นั้นมีรอยแต้มสีเหลืองหรือเหลืองปนส้มเป็นดวงหรือเป็นแถบ ทำให้มองดูคล้ายสีทอง ที่มีเป็นสามัญ คือ ชนิด Dacus dorsalis ซึ่งในระยะที่เป็นตัวหนอนจะทำลายผลไม้.

สงกรานต์

หมายถึง[-กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.

ถั่วแปบ

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วง ฝักแบน ๆ; ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเหนียวต้มคลุกกับมะพร้าว มีไส้ถั่วเขียวเราะเปลือกนึ่ง มีลักษณะแบน ๆ คล้ายถั่วแปบ โรยงา นํ้าตาล.

ปากซ่อม

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ลำตัวป้อม ลายนํ้าตาลและขาว ปากยาวแหลมเล็ก ขาสั้น หากินในเวลาพลบคํ่าและเวลากลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจำพวกหนอนและไส้เดือนในดิน มักอยู่ตามลำพัง มีหลายชนิด เช่น ปากซ่อมหางเข็ม (Gallinago stenura) ปากซ่อมหางพัด (G. gallinago) ปากซ่อมดง (Scolopax rusticola).

ท้อง

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดืออยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ ท้องร่อง. ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.

ไต่ไม้

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sittidae ตัวเล็ก หางสั้น ปากแหลม มักไต่จากยอดไม้ลงมาสู่โคนโดยเอาหัวลง กินหนอนและแมลงในเปลือกไม้ แต่บางครั้งก็กินเมล็ดพืช ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๕ ชนิด เช่น ไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม (Sitta castanea) ไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ (S. frontalis) ไต่ไม้สีสวย (S. formosa).

แวว

หมายถึงว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัดเสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็นนักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัดเป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้แกะสลักปิดทอง.

จีบ

หมายถึงก. พับกลับไปกลับมาหรือทำให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียกผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือลูกชนักสำหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียกพลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ