ตัวกรองผลการค้นหา
ช
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.
ตัวหารร่วมมาก
หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
ว
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำกับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดในแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.
ญ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
ปัดตลอด
หมายถึงว. มีขนขาวหรือดำเป็นแนวยาวไปตามสันหลังตั้งแต่หัวตลอดหาง เช่น แมวปัดตลอด; เรียก “นะ” ที่เขียนเป็นอักษรขอม สำหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า “นะปัดตลอด”.
บัฐยาพฤต
หมายถึง[บัดถะหฺยาพฺรึด] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่งซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, ปัฐยาวัต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ส.; ป. ปฐฺยาวตฺต).
ตัวคูณร่วมน้อย
หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนำไปหารด้วยจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น.
กรัม
หมายถึง[กฺรำ] น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑,๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, ตามมาตราประเพณี อัตรา ๖๐๐ กรัม = ๑ ชั่งหลวง, อักษรย่อว่า ก. (ฝ. gramme).
ภาคทัณฑ์
หมายถึง[พากทัน] ก. ตำหนิโทษ, คาดโทษ, ลงโทษเพียงว่ากล่าว, ลงโทษข้าราชการพลเรือนโดยตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นการลงโทษขั้นเบาที่สุด. (ส. วาคฺทณฺฑ = ลงโทษเพียงว่ากล่าว).
คืบ
หมายถึงน. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ คืบ เท่ากับ ๑๒ นิ้ว, อักษรย่อว่า ค. ก. เขยิบตัวไปข้างหน้าอย่างหนอน, ก้าวหน้า เช่น ข่าวคืบหน้า ทำงานไม่คืบหน้า.
จีน
หมายถึงน. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้.
ฆ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคำไทยมีบ้างเล็กน้อย คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่.