ค้นเจอ 247 รายการ

โจท

หมายถึง[โจด] (โบ) ก. ฟ้อง เช่น ทาษโจทเจ้าว่ามิได้เปนทาษก็ดีว่าได้ส่งเงินค่าตัวแล้วก็ดี. (สามดวง).

ทศนิยม

หมายถึงน. จำนวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกำหนดจุดจุดหนึ่งให้อยู่ข้างหน้าหรืออยู่ระหว่างตัวเลขต่าง ๆ เช่น .๘๕๖, ๑๒.๐๘. (อ. decimal).

ตระบอง

หมายถึง[ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.

แผด

หมายถึง[ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).

สะพัด

หมายถึง(วรรณ) ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ), กระพัด ก็ว่า.

กลางทาสี

หมายถึง(กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).

สามเส้า

หมายถึงก. อาการที่นกเขาขันคูเป็น ๓ จังหวะ, สามกุก ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.

ตองเปรียง

หมายถึง[-เปฺรียง] น. จองเปรียง คือพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเจ้า ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒. (สามดวง).

น้ำทรง

หมายถึงน. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับนํ้า, นํ้ากำลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากนํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลำคลองอาจมีระยะเวลาตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลำนํ้า.

แว่นแคว้น

หมายถึงน. แผ่นดินซึ่งมีขอบเขตเป็นปริมณฑล เช่น แว่นแคว้นตะนาวศรี ฝ่ายเขาเล่าก็สามพารา เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น. (อิเหนา).

เคณฑะ

หมายถึง[เคนทะ] น. ลูกข่าง, ใช้ในคำว่า พระราชพิธีเคณฑะ คือ พระราชพิธีทิ้งข่าง. (สิบสองเดือน). (ป. เคณฺฑ).

กระดาก

หมายถึง(กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ