ค้นเจอ 845 รายการ

อจิร,อจิร-,อจิระ

หมายถึง[อะจิระ-] ว. ไม่นาน. (ป., ส.).

อุร,อุร-,อุระ,อุรา,อุรา

หมายถึงน. อก. (ป.; ส. อุรสฺ).

สัฐิ

หมายถึง[สัดถิ] ว. หกสิบ. (ป. สฏฺิ; ส. ษษฺฏิ).

หมูแฮม

หมายถึงน. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า.

สรีร,สรีร-,สรีระ

หมายถึง[สะรีระ-] น. ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร).

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

จันทร,จันทร-,จันทร์

หมายถึง[จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).

กะเรี่ยกะราด

หมายถึงว. เรี่ยราย, กระจัดกระจาย, หกเรี่ยราด; วางหน้าไม่สนิท.

ฉักกะ

หมายถึง(แบบ) น. หมวด ๖ คือ รวมสิ่งละหก ๆ. (ป.).

ไพมอก

หมายถึงก. ครํ่าครวญ, บ่นด้วยความเศร้า.

คณนะ,คณนา

หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).

จัตุรงคพล

หมายถึง[จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ