ค้นเจอ 184 รายการ

ธรรมเนียมประเพณี

หมายถึงน. ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว.

ธรรมสามี

หมายถึงน. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).

นามธรรม

หมายถึง[นามมะทำ] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).

บุคคลธรรมดา

หมายถึง[บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.

ปปัญจธรรม

หมายถึง(แบบ) น. ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ. (ป.).

โผฏฐัพธรรม

หมายถึงน. สิ่งที่รู้สึกได้ด้วยกาย, สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติทั่วไป.

กฎธรรมดา

หมายถึงน. ข้อกำหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์และสังคม.

กรมธรรม์ประกันภัย

หมายถึง(กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).

กัณหธรรม

หมายถึงน. ธรรมฝ่ายดำ คือ อกุศล.

ดะโต๊ะยุติธรรม

หมายถึง(กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ