ค้นเจอ 302 รายการ

หัฏฐะ

หมายถึง[หัดถะ] ว. ร่าเริง, ยินดี, สบายใจ. (ป.; ส. หฺฤษฺฏ).

ไยดี

หมายถึงก. พอใจ, ยินดี, เอื้อ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ไยดี อย่าไปไยดี.

บริรม

หมายถึง[บอริรม] ก. ชอบใจ, ยินดี. (ส. ปริรม).

ห่มคลุม

หมายถึงน.เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดไหล่ทั้ง ๒ ข้าง.

ประมัตตะ

หมายถึงว. เลินเล่อ, มัวเมา, ประมาท, มักง่าย, เหลวไหล, เพิกเฉย, ทอดทิ้ง. (ส. ปฺรมตฺต; ป. ปมตฺต).

เสนาสนะ

หมายถึง[เส-นาสะ-] น. ที่นอนและที่นั่ง, ที่อยู่. (ใช้เฉพาะพระภิกษุ สามเณร). (ป. เสน + อาสน).

ระเดียง

หมายถึงน. เรียกสายสำหรับตากผ้าสบงจีวรเป็นต้นของพระภิกษุสามเณรว่า สายระเดียง.

มหา

หมายถึงน. สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป.

อนุปสัมบัน

หมายถึง[อะนุปะสำบัน] น. ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. (ป.).

ผ้ากราบ

หมายถึงน. ผ้าที่ภิกษุสามเณรใช้รองในเวลากราบพระ ซึ่งกลายมาจากผ้าสันถัต, (โบ) กราบพระ ก็ว่า.

สาเหตุ

หมายถึง[สาเหด] น. ต้นเหตุ เช่น ความประมาทเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคมะเร็ง.

ปาราชิก

หมายถึงน. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ