ค้นเจอ 194 รายการ

เข้าถึง

หมายถึงก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิดสนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.

เลือกเฟ้น

หมายถึงก. คัดเอาแต่ที่ดีเด่น, คัดเอาแต่ที่ต้องการ, เช่น เลือกเฟ้นนักกีฬาทีมชาติ เลือกเฟ้นข้าราชการดีเด่น, เฟ้น ก็ว่า.

บรรทัดราง

หมายถึงน. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอกอยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่งมีสีดำบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดานเป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตามต้องการ.

สอบความถนัด

หมายถึงก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.

ไล่ต้อน

หมายถึงก. ไล่สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ เช่น ไล่ต้อนเป็ดเข้าเล้า สุนัขไล่ต้อนฝูงแกะ นักมวยไล่ต้อนคู่ชกให้เข้ามุม.

กฎหมู่

หมายถึงน. อำนาจกดดันที่บุคคลจำนวนมากนำมาใช้บีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำหรือเว้นกระทำสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).

กะสมอ

หมายถึงก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอดหรือเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป.

ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

หมายถึง(สำ) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).

หลุม

หมายถึง[หฺลุม] น. ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นบ่อ มักมีขนาดเล็กและตื้น, ที่ซึ่งขุดลงไปในพื้นดิน มีลักษณะตามต้องการเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หลุมเสา หลุมเผาถ่าน.

เฉาะ

หมายถึงก. เอามีดสับลงเป็นที่ ๆ เฉพาะที่ต้องการแล้วงัดให้แยกออก เช่น เฉาะตาล เฉาะฝรั่ง. น. เรียกเนื้อในตาลอ่อนที่เฉาะออกมาจากเต้าตาลว่า ตาลเฉาะ.

ผลิต,ผลิต-

หมายถึง[ผะหฺลิด, ผะหฺลิดตะ-] ก. ทำให้เกิดมีขึ้นตามที่ต้องการด้วยอาศัยแรงงานหรือเครื่องจักรเป็นต้น เช่น ผลิตข้าว ผลิตรถยนต์ ผลิตครู ผลิตบัณฑิต. (ป.).

สัมภาษณ์

หมายถึงก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คำพูดให้ตรงกัน).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ