ค้นเจอ 288 รายการ

ชังคา

หมายถึง(กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).

ลมปาก

หมายถึงน. ถ้อยคำที่กล่าว เช่น อย่าสัญญาเพียงลมปาก, คำพูดที่จูงใจให้เห็นคล้อยตาม เช่น หลงลมปากจึงตามเขาไป.

ปริปาก

หมายถึงก. แย้มปากพูดออกมา (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าปริปากบอกใครนะ.

คลัก

หมายถึง[คฺลัก] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ทำให้สกปรก เช่น ตัวเปื้อนอย่ามาคลักที่นอน.

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

บอกบท

หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.

ทำนองเสนาะ

หมายถึงน. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.

ตะลุย

หมายถึงว. อาการที่ตีหรือบุกดะเข้าไปไม่รั้งรอ, อาการที่อ่านเรื่อยไปโดยไม่พินิจพิจารณา.

ยืนค้ำหัว

หมายถึงก. ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่.

รัน

หมายถึงก. ตี เช่น อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้, มักใช้ว่า ตีรันฟันแทง.

เหมา

หมายถึง[เหฺมา] ก. คิดเป็นจำนวนรวม เช่น รับเหมาเหมาผลไม้ทั้งเข่ง; หาความ เช่น อย่าเหมาว่าฉันผิดคนเดียว.

ระเริง

หมายถึงก. ร่าเริงบันเทิงใจ, สนุกสนานเบิกบานเต็มที่, เช่น แมวไม่อยู่หนูระเริง อย่าระเริงจนเกินไป.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ