ค้นเจอ 171 รายการ

ลมมรสุม

หมายถึงน. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดินร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.

ตะโก้

หมายถึงน. ชื่อลมทะเลพัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มักมีในปลายฤดูฝน, ลมพัดหลวง ก็เรียก.

ทรหึงทรหวล

หมายถึง[ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).

พะเยิบพะยาบ

หมายถึงว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่อ่อนไหวได้ในตัว), เช่น หลังคาเต็นท์ถูกลมพัดพะเยิบพะยาบ.

ระรวย

หมายถึงว. รวย ๆ, แผ่ว ๆ, เบา ๆ, เช่น หายใจระรวย ลมพัดมาระรวย; ส่งกลิ่นหอมน้อย ๆ เช่น หอมระรวย.

เฉื่อย,เฉื่อย,เฉื่อย ๆ

หมายถึงว. เรื่อย ๆ, ช้า ๆ, เช่น ลมเฉื่อย ลมพัดเฉื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน, อืดอาด, เช่น คนเฉื่อย ทำงานเฉื่อย ๆ.

แฉก,แฉก ๆ

หมายถึงว. ลักษณะของสิ่งที่เป็นแผ่นและแยกออกเป็นจัก ๆ หรือเป็นทางยาว เช่น พัดแฉก ดาว ๕ แฉก ใบตาลเป็นแฉก ๆ; เรียกพัดยศพระราชาคณะ มียอดแหลมและริมเป็นจัก ๆ ว่า พัดแฉก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นแฉก ๆ เช่น ใบมะละกอมี ๕ แฉก รูป ๓ แฉก.

อุตรา

หมายถึง[อุดตฺรา] น. เรียกลมชนิดหนึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในต้นฤดูร้อน ว่า ลมอุตรา.

ฉิว

หมายถึงว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.

วาลวีชนี

หมายถึง[วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).

กระโหนด

หมายถึง[-โหฺนด] น. ตาล เช่น ย่านป่าขายพัดกระโหนดคันกลมคันแบนใหญ่น้อย. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา). (แผลงมาจาก โตนด).

คลี่

หมายถึง[คฺลี่] ก. คลายสิ่งที่ม้วนหรือพับอยู่ เช่น คลี่ผ้า คลี่มวยผม, ทำให้แผ่ออก เช่น คลี่พัด คลี่ไพ่, ขยายออก เช่น ดอกไม้คลี่กลีบ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ