ค้นเจอ 172 รายการ

คอบ

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).

กระทวย

หมายถึงน. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).

กำพง

หมายถึงน. ท่านํ้า, ตำบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกำพงไพร. (ม. คำหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่านํ้า; มลายู กัมพง ว่า ตำบล).

ชามพูนท

หมายถึง[ชามพูนด] น. ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).

ฉับฉ่ำ

หมายถึง(กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).

กรูด

หมายถึง[กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.

ข้าวกระยาทิพย์

หมายถึงน. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.

บทบูรณ์

หมายถึง[บดทะ-] น. คำที่ทำให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).

สารท

หมายถึง[สาด] น. เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน ๑๐ โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์. (ป. สรท, สารท; ส. ศารท).

จันทรภิม

หมายถึง(โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).

ข้าวทิพย์

หมายถึงน. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก.

โปฐบท

หมายถึง[โปดถะบด] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวแรดตัวผู้ ดาวหัวเนื้อทราย ดาวปุพพภัททะ หรือ ดาวบุรพภัทรบท ก็เรียก. (ป. โปฏฺปท).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ