ค้นเจอ 131 รายการ

ขนาบ

หมายถึง[ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบนหรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).

ประเทศราช

หมายถึง[ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในเวลาเกิดศึกสงครามต้องเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.

กาษา,กาสา,กาสา

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสำรับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตำราทำนายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).

คณะองคมนตรี

หมายถึง(กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.

ภาษาแบบแผน

หมายถึงน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.

พลี

หมายถึง[พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตามแบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).

ยานมาศ,ยานุมาศ

หมายถึง[ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสำหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.

จำนอง

หมายถึงก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง. (แผลงมาจาก จอง).

กฐิน-

หมายถึง[กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

อินทราภิเษก

หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.

กฐิน

หมายถึง[กะถิน] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

อัษฎายุธ

หมายถึงน. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบและเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ