ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ปัตยัย, อาขยาต, ปรัตยัย, กัปปิยภัณฑ์, อัจจัย, ปรัตยูษ
ปัจจัย
หมายถึงเงิน
รวมคําคมการออมเงิน คำคมแก้จน
หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).
ปรัตยัย
หมายถึง[ปฺรัดตะไย] (โบ; กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
กัปปิยภัณฑ์
หมายถึงน. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือจีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
ปัตยัย
หมายถึง[ปัดตะไย] (กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
อาขยาต
หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
ภาษามีวิภัตติปัจจัย
หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
ยุทธปัจจัย
หมายถึงน. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.
สังขารธรรม
หมายถึง[สังขาระ-] น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง.
อัญมัญ,อัญมัญ-
หมายถึง[อันยะมันยะ-] ว. ซึ่งกันและกัน, แก่กันและกัน, ของกันและกัน, เช่น เป็นอัญมัญปัจจัย คือ เป็นปัจจัยของกันและกัน. (ป. อญฺมญฺ).
สังขตธรรม
หมายถึงน. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น. (ป. สงฺขต + ส. ธรฺม).
กัปปิยการก
หมายถึง[-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.