คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ ทุกหมวด พร้อมความหมาย

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2. พระบรมวงศานุวงศ์ 3. พระสงฆ์ 4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง 5. สุภาพชนทั่วไป
คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2. พระบรมวงศานุวงศ์ 3. พระสงฆ์ 4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง 5. สุภาพชนทั่วไป
เนื้อหาในหน้านี้

ราชาศัพท์ คำราชาศัพท์ คืออะไร

คำราชาศัพท์ ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง คำศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ใช้กับพระมหากษัตริย์ เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และคนสุภาพ ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคลดังกล่าวด้วยความเชื่อและการยกย่องมาแต่โบราณกาล และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

  คำราชาศัพท์

หมวดหมู่คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 12 หมวด ได้แก่

  1. คำราชาศัพท์ หมวดกริยา
  2. คำราชาศัพท์ หมวดคำสุภาพ
  3. คำราชาศัพท์ หมวดคำอวยพร
  4. คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ทั่วไป
  5. คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องประดับ
  6. คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องภาชนะใช้สอย
  7. คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ
  8. คำราชาศัพท์ หมวดพระสงฆ์
  9. คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย
  10. คำราชาศัพท์ หมวดสรรพนาม
  11. คำราชาศัพท์ หมวดสัตว์และเบ็ดเตล็ด
  12. คำราชาศัพท์ หมวดอาหาร

คำราชาศัพท์ในหมวดหมู่ต่าง ๆ พร้อมความหมาย

คำราชาศัพท์ หมวด กริยา

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
1ชำระพระหัตถ์ล้างมือ
2ตรัสพูดด้วย
3ถวายความเคารพทำความเคารพ, แสดงการเคารพ
4ถวายบังคมไหว้
5ทรงถาม, ตรัสถามถาม
6ทรงทักทาย, ตรัสทักทายทักทาย ทรงทักทายอย่างไม่เป็นทางการกับบุคคลทั่วไป
7ทรงปราศรัยปราศรัย
8ทรงพระกาสะไอ
9ทรงพระปรมาภิไธยลงลายมือชื่อ
10ทรงพระปินาสะจาม
11ทรงพระราชนิพนธ์แต่งหนังสือ
12ทรงพระสรวลหัวเราะ
13ทรงพระอักษรเรียน เขียน อ่าน
14ทรงพระเกษมสำราญสุขสบาย
15ทรงยืนยืน
16ทรงสัมผัสมือจับมือ
17ทรงห่วงใยห่วงใย
18ทรงอวยพรอวยพร
19ทรงเครื่องแต่งตัว
20ทอดพระเนตรดู
21บรรทมนอน
22ประทับนั่ง
23พระดำรัสคำพูด
24พระดำรัสสั่งคำสั่ง
25พระดำริความคิด
26พระบรมราชวินิจฉัยคำวินิจฉัย, การวินิจฉัย
27พระบรมราชวินิจฉัยตัดสิน
28พระบรมราชินูปถัมภ์การเกื้อกูล, การอุปถัมภ์
29พระบรมราชูปถัมภ์, พระบรมราโชปถัมภ์การเกื้อกูล, การอุปถัมภ์
30พระบรมราชโองการคำสั่ง
31พระบรมราโชวาทคำสอน
32พระบวรราชโองการคำสั่ง
33พระบัญชาคำสั่ง
34พระบัณฑูรคำสั่ง
35พระปุจฉาคำถาม
36พระราชดำรัสคำพูด
37พระราชดำรัส, พระราชกระแส, กระแสพระราชดำรัสคำพูด
38พระราชดำรัสสั่งคำสั่ง
39พระราชดำริความคิด
40พระราชทานให้

คำราชาศัพท์ หมวด คำสุภาพ

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
41ขนมใส่ไส้ขนมสอดไส้
42คนคลอดลูกคนออกลูก
43ผลไม้ลูกไม้

คำราชาศัพท์ หมวด คำอวยพร

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
44อาศิรวาทอวยพร สดุดี สรรเสริญ

คำราชาศัพท์ หมวด พระสงฆ์

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
45กุฏิเรือนที่พักในวัด
46คิลานเภสัชยารักษาโรค
47จังหันอาหาร
48จำวัดนอน
49ฉันรับประทาน
50ถาน,เวจกุฎีห้องสุขา
51นิมนต์เชิญ
52ประเคนถวาย
53ปลงผมโกนผม
54ปัจจัยเงิน
55พระบัญชาคำสั่ง(พระสังฆราช)
56พระสมณสาสน์จดหมาย(พระสังฆราช)
57พระแท่นธรรมาสน์(พระสังฆราช)
58พระโอวาทคำสอน(พระสังฆราช)
59ภัตตาหารอาหาร
60มรณภาพตาย
61รูปลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
62ลิขิตจดหมาย
63ลิขิตจดหมาย
64สรงน้ำอาบน้ำ
65สลากภัตอาหารถวายพระด้วยสลาก
66ห้องสรงน้ำห้องอาบน้ำ
67องค์ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป
68อังคาดเลี้ยงพระ
69อาพาธป่วย
70อาสนะที่นั่ง
71อุบาสกคนรู้จัก
72อุบาสิกาคนรู้จัก
73เพลเวลาฉันอาหารกลางวัน
74เสนาสนะสถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
75ใบปวารณาคำแจ้งถวายจตุปัจจัย
76ไตรจีวรเครื่องนุ่งห่ม

คำราชาศัพท์ หมวด ร่างกาย

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
77กล่องพระสกุลมดลูก
78กล้ามพระมังสากล้ามเนื้อ
79กำพระหัตถ์กำมือ กำหมัด กำปั้น
80ขมวดพระศก , ขมวดพระเกศาขมวดผมที่เป็นก้นหอย
81ขอบพระเนตรขอบตา
82ข้อนิ้วพระหัตถ์ , พระองคุลีบัพข้อนิ้วมือ
83ข้อพระกร , ข้อพระหัตถ์ข้อมือ
84ข้อพระบาทข้อเท้า
85ช่องพระนาสิกช่องจมูก
86ช่องพระโสต , ช่องพระกรรณช่องหู
87ต่อมพระเนตรต่อมน้ำตา ท่อน้ำตา
88ต้นพระชิวหา , มูลพระชิวหาต้นลิ้น ลิ้นไก่ โคนลิ้น
89ต้นพระหนุขากรรไกร ขากรรไตร หรือขาตะไกร
90นิ้วพระบาทนิ้วเท้า
91ผิวพระพักตร์, พระราศีผิวหน้า
92ฝ่าพระบาทฝ่าเท้า
93ฝ่าพระหัตถ์ฝ่ามือ
94พระกฏิฐิกระดูกสะเอว
95พระกนิษฐานิ้วก้อย
96พระกนีนิกา , พระเนตรดาราแก้วตา
97พระกรปลายแขน (ตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ)
98พระกรรณหู ใบหู
99พระกรามฟันกราม
100พระกฤษฎี , บั้นพระองค์, พระกฏิสะเอว เอว
101พระกษิรธาราน้ำนม
102พระกัจฉะรักแร้
103พระกัจฉโลมะขนรักแร้
104พระกัณฐมณีลูกกระเดือก
105พระกัประ , พระกโบระข้อศอก
106พระกำโบล , กระพุ้งพระปรางกระพุ้งแก้ม
107พระกิโลมกะพังผืด
108พระกุญชะไส้พุง
109พระขนง , พระภมูคิ้ว
110พระครรโภทร , พระคัพโภทรมีครรภ์ มีท้อง
111พระคีวัฐิกระดูกคอ
112พระคุยหฐาน, พระคุยหประเทศองค์ที่ลับชาย
113พระจุฑามาศมวยผม ท้ายทอย
114พระจุไรไรจุก ไรผม
115พระฉวีผิวหนัง ผิวกาย
116พระฉายาเงา

 

 

คำราชาศัพท์ หมวด สรรพนาม

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
117กระผม, ดิฉันแทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
118ข้าพระพุทธเจ้าแทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
119ท่านแทนผู้ที่พูดถึง
120ฝ่าพระบาทแทนชื่อที่พูดด้วย
121พระคุณท่านแทนชื่อที่พูดด้วย
122พระคุณเจ้าแทนชื่อที่พูดด้วย
123พระองค์แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
124พระเดชพระคุณแทนชื่อที่พูดด้วย
125ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาทแทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
126ใต้ฝ่าละอองพระบาทแทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)

คำราชาศัพท์ หมวด สัตว์และเบ็ดเตล็ด

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
127กระบือควาย
128กล้วยสั้นกล้วยกุ
129กล้วยเปลือกบาง, กล้วยกะกล้วยไข่
130ขนมดอกเหล็ก, ขนมทรายขนมขี้หนู
131ขนมสอดไส้ขนมใส่ไส้
132ข้าวเสวยข้าว หรือเรียกว่า พระกระยา
133จิตรจูล, จิตรจุลเต่า
134ชัลลุกะ, ชัลลุกาปลิง
135ช้าง 2 ช้าง, ช้าง 2 เชือกช้าง 2 ตัว
136ช้างนรการช้างสีดอ (ช้างพลายมีงาสั้น)
137ดอกขจรดอกสลิด
138ดอกซ่อนกลิ่นดอกซ่อนชู้
139ดอกถันวิฬาร์ดอกนมแมว
140ดอกทอดยอดดอกผักบุ้ง
141ดอกมณฑาขาวดอกยี่หุบ
142ดอกสามหาวดอกผักตบ
143ดอกเหล็กดอกขี้เหล็ก
144ตกลูกออกลูก (สำหรับสัตว์)
145ต้นจะเกรงต้นเหงือกปลาหมอ
146ต้นปาริฉัตร, ต้นปาริชาติต้นทองกวาว, ต้นทองหลาง
147ต้นหนามรอบข้อต้นพุงดอ
148ต้นอเนกคุณต้นตำแย
149ต้องพระราชอาญาต้องโทษ
150ถั่วเพาะถั่วงอก
151ถ่ายมูลสัตว์ขี้ เช่น นกถ่ายมูล
152นางเก้งอีเก้ง
153นางเลิ้งอีเลิ้ง
154นางเห็นอีเห็น
155บางชีโพ้นบางชีหน
156บางนางร้าบางอีร้า
157ปลามัจฉะปลาร้า
158ปลายาวปลาไหล
159ปลาลิ้นสุนัขปลาลิ้นหมา
160ปลาหางปลาช่อน
161ปลาใบไม้ปลาสลิด
162ปลีกกล้วยหัวปลี
163ผลลูก (ใช้เรียกลูกไม้ทั้งปวง)
164ผลนางนูนลูกอีนูน
165ผลมูลกาลูกขี้กา
166ผลมูลละมั่งลูกตะลิงปลิง

คำราชาศัพท์ หมวด อาหาร

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
167กล้วยเปลือกบางหรือกล้วยกระกล้วยไข่
168ขนมดอกเหล็กหรือขนมทรายขนมขี้หนู
169ขนมทองฟูขนมตาล
170ขนมบัวสาวขนมเทียน
171ขนมสอดไส้ขนมใส่ไส้
172ขนมเส้นขนมจีน
173ถั่วเพาะถั่วงอก
174นารีจำศีลกล้วยบวชชี
175ปลามัจฉะปลาร้า
176ปลายาวปลาไหล
177ปลาหางปลาช่อน
178ปลาใบไม้ปลาสลิด
179ผลมูลละมั่งลูกตะลิงปลิง
180ผลอัมพวาผลมะม่วง
181ผลอุลิดลูกแตงโม
182ผักทอดยอดผักบุ้ง
183ผักรู้นอนผักกระเฉด
184ผักสามหาวผักตบ
185พระกระยาต้มข้าวต้ม
186พระกระยาหารข้าว
187พริกเม็ดเล็กพริกขี้หนู
188ฟักเหลืองฟักทอง
189ลูกไม้ผลไม้
190เครื่องคาวของคาว
191เครื่องว่างของว่าง
192เครื่องหวานของหวาน
193เครื่องเคียงของเคียง
194เครื่องเสวยของกิน
195เยื่อเคยกะปิ
196เห็ดปลวกเห็ดโคน

 

คำราชาศัพท์ หมวด เครือญาติ ได้แก่

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
197พระขนิษฐาน้องสาว
198พระชนกหรือพระราชบิดาพ่อ
199พระชนนีหรือพระราชมารดาแม่
200พระชามาดาลูกเขย
201พระปัยกาปู่ทวดหรือตาทวด
202พระปัยยิกาย่าทวดหรือยายทวด
203พระปิตุจฉาป้าหรืออาหญิง
204พระปิตุลาลุงหรืออาชาย
205พระภาคิไนยหลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว
206พระภาติยะหลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย
207พระมาตุจฉาป้าหรือน้าหญิง
208พระมาตุลาลุงหรือน้าชาย
209พระมเหสีหรือพระชายาภรรยา
210พระราชธิดา, พระเจ้าลูกเธอลูกสาว
211พระราชนัดดาหลานชายหรือหลานสาว
212พระราชปนัดดาเหลน
213พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอลูกชาย
214พระสวามีหรือพระภัสดาสามี
215พระสสุระพ่อสามี
216พระสัสสุแม่สามี
217พระสุณิสาลูกสะใภ้
218พระอนุชาน้องชาย
219พระอัยกาปู่หรือตา
220พระอัยยิกาย่าหรือยาย
221พระเชษฐภคินีพี่สาว
222พระเชษฐาพี่ชาย

คำราชาศัพท์ หมวด เครื่องประดับ ได้แก่

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
223กำไลข้อพระบาท, ทองพระบาทกำไลข้อเท้า
224ตุ้มพระกรรณต่างหู
225ทองพระกร, ทองกร, พระวลัยกำไล
226ทองพระกร, พระกำไล, พระวลัยกำไล
227พระกรรเจียกจอนหู
228พระกำไลหยกกำไลหยก
229พระกุณฑลต่างหู
230พระจุฑามณีปิ่นประดับเพชร
231พระธำมรงค์แหวน
232พระปั้นเหน่งหัวเข็มขัด
233พระมหามงกุฎหมายถึงพระมหาพิชัยมงกุฎในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
234พระมหาสังวาลสร้อยตัว, สร้อยยาวสวมสะพายแล่ง
235พระอุณหิสกรอบหน้า
236พาหุรัดกำไลต้นแขน
237รัดพระองค์เข็มขัด
238สร้อยข้อพระหัตถ์, พระวลัยสร้อยข้อมือ
239สร้อยพระศอสร้อยคอ
240เกยูรสร้อยอ่อน, ทองต้นแขน

คำราชาศัพท์ หมวด เครื่องภาชนะใช้สอย ได้แก่

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
241จานเครื่องต้นจาน
242ฉลองพระหัตถ์ช้อนช้อน
243ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบตะเกียบ
244ฉลองพระหัตถ์ส้อมส้อม
245ชามชำระพระหัตถ์ชามล้างมือ
246ชามเครื่องต้น, ถ้วยชามเครื่องต้นถ้วยชาม
247ถาดพระสุธารสถาดเครื่องน้ำร้อน น้ำเย็น
248ถ้วยพระสุธารสถ้วยน้ำ
249ที่พระสุธารสชุดเครื่องน้ำร้อน น้ำเย็น
250บ้วนพระโอษฐ์กระโถน
251ผ้าเช็ดพระหัตถ์ผ้าเช็ดมือ
252พระตะพาบ, พระเต้า (คนโท)คนโทน้ำ
253พระทวยคันทวยสำหรับรองรับกระโถน หรือรับพระภูษาโยง
254พระมณฑปพระสุธารสหม้อน้ำดื่ม
255พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ขันน้ำทรงมณฑปพานรอง มีจอกลอย
256พระมังสีพานรองสังข์ จอกหมาก
257พระสุพรรณภาชน์โต๊ะทองคำสำหรับตั้งสำรับคาวหวาน
258พระสุพรรณราชกระโถนใหญ่
259พระสุพรรณศรีกระโถนเล็ก
260พระสุวรรณภิงคารหม้อน้ำทำด้วยทองคำรูปคนโท
261พระเต้าทักษิโณทกเต้ากรวดน้ำ
262มีดคาว, มีดหวาน, มีดผลไม้มีด
263โต๊ะเสวยโต๊ะรับประทานอาหาร

คำราชาศัพท์ หมวด เครื่องใช้ทั่วไป ได้แก่

#คำราชาศัพท์คำสามัญ
264กระเป๋าทรงกระเป๋าถือ
265คันฉ่องกระจกมีคันถือ แว่นโลหะขัดเงามีด้าม ใช้เป็นกระจกส่องหน้า
266ฉลองพระหัตถ์, ฉลองได, นารายณ์หัตถ์ไม้เกาหลัง
267ฉลองพระเนตรแว่นตา
268ตลับพระมณฑปเล็กตลับยอดมณฑป
269ตั่งที่นั่งไม่มีพนัก
270ที่สรงพระพักตร์, ถาดสรงพระพักตร์,อ่างล้างหน้า
271ธารพระกรไม้เท้า, ไม้วา, ไม้วัด
272น้ำจัณฑ์เหล้า
273พระกรรภิรมย์ฉัตรสีขาว ลงยันต์ด้วยเส้นทอง 5 ชั้น สำรับหนึ่งมี 3 คัน
274พระกลดร่มด้ามยาว สำหรับประดับพระเกียรติยศ
275พระกลดคันสั้นร่ม
276พระกล้องสลัดกล้องที่ใส่อาวุธซัด
277พระฉายกระจกส่อง
278พระตราตราส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ ดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์
279พระที่นั่งที่นั่ง
280พระที่นั่งเก้าอี้, เก้าอี้ประทับเก้าอี้นั่ง
281พระที่นั่งเจียมพรมเจียม พรมขนสัตว์
282พระพัชนีพัด
283พระยี่ภู่ฟูก นวมที่ปูลาดไว้
284พระรัตนกรัณฑ์ตลับประดับเพชร
285พระราชบรรจถรณ์ที่นอน
286พระราชลัญจกรตราแผ่นดินสำหรับใช้ประทับ
287พระราชอาสน์, พระเก้าอี้ที่สำหรับนั่ง เก้าอี้
288พระล่วมกระเป๋าหมากบุหรี่
289พระวิสูตรม่าน มุ้ง
290พระศรีหมาก
291พระสางหวี
292พระสางวงเดือนหวีวงเดือน
293พระสางเสนียดหวีเสนียด
294พระสุจหนี่ผ้าที่ปูลาดไว้สำหรับประทับ หรือตั้งพระเก้าอี้
295พระสูตรมุ้ง
296พระอภิรุมเครื่องประดับเกียรติยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร บังสูรย์
297พระอู่, พระอังรึงเปล
298พระเขนยหมอนหนุน
299พระเขนยข้างหมอนข้าง
300พระเขนยอิง, พระขนนหมอนอิง
301พระแท่นเตียง ที่นั่ง
302พระแท่นบรรทมเตียงนอน
303พระแว่นสูรยกานต์แว่นรวมแสงอาทิตย์ สำหรับจุดไฟ

>> ยังมีหมวดอื่นๆ อีก กดไปดูทั้งหมดได้ตรงนี้เลยจ้า หมวดหมู่คำราชาศัพท์ ทุกหมวด หรือ เรียงตามตัวอักษร <<

 

  

ความหมายของคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง ๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อยครั้ง แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล

บุคคลผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย / ประเภทของคำราชาศัพท์

บุคคลที่ผู้พูดต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย สามารถจำแนกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน


บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน

เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ

ในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับ ใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด

เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรักภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

คำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด?

ประวัติของคำราชาศัพท์

ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น

บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์

และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่อขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

คำราชาศัพท์

 

ที่มาของคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ

  1. รับมาจากภาษาอื่น
    ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น
    ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
  2. การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น

  

ประเภทของคำราชาศัพท์

จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ

  1. พระมหากษัตริย์
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระสงฆ์
  4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
  5. สุภาพชนทั่วไป

ภาษาที่ใช้คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์มิได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยตั้งใจ จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน จึงได้เจาะจงรับคำในภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย

อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้ ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็นคำราชาศัพท์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและ ภาษาไทยของเราเอง ดังจะได้พิจารณาต่อไปนี้จากภาษาต่างประเทศ

ตั้งแต่สมัยโบราณมา คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี และสันกฤต ภาษาอื่น ๆ ก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจนเท่า 3 ภาษาที่กล่าวแล้ว

 

 

การเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์

ตามที่หลายคนคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องของในรั้วในวัง เป็นเรื่องของผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนั้น ทำให้คิดต่อไปอีกว่า คำราชาศัพท์เป็นเรื่องยากซึ่งเมื่อก่อนอาจเป็นจริง แต่ปัจจุบันคำราชาศัพท์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว แม้มิได้ใช้มากเท่ากับภาษาสามัญที่ใช้อยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันแต่ทุกคน โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาก็ต้องมีโอกาสที่จะสัมผัสกับคำราชาศัพท์ทุกวัน ไม่โดยตรงก็โดยทางอ้อม โดยเฉพาะทางสื่อมวลชน

การเรียนรู้วิธีใช้คำราชาศัพท์นั้น กล่าวโดยสรุป ต้องเรียนรู้ใน 2 ประการ คือ เรียนรู้คำ ประการหนึ่งกับ เรียนรู้วิธี อีกประการหนึ่ง

เรียนรู้คำ คือ ต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์
เรียนรู้วิธี คือ ต้องเรียนรู้วิธีหรือเรียนรู้ธรรมเนียมการใช้คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับพระราชอิสริยศักดิ์พระบรมราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
สมเด็จเจ้าฟ้า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
หม่อมเจ้า

 

สำหรับคำว่า พระราชโองการ และพระราโชวาท หากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า "บรม" นำหน้าคำว่า "ราช" เสมอ

Download PDF คำราชาศัพท์ ที่ใช้บ่อย

สำหรับใครที่อยากได้คำราชาศัพท์ ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย

คำราชาศัพท์ ที่ใช้บ่อย
PDF – ตัวอย่าง คำราชาศัพท์ ที่ใช้บ่อย
ดาวน์โหลด

ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำราชาศัพท์ ทุกหมวด พร้อมความหมาย"