ค้นเจอ 44 รายการ

พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึงคำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉย ๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

วัวแก่อยากกินหญ้าอ่อน

หมายถึงชายแก่ที่มีเมียสาวคราวลูกหลานมักใช้เป็นคำเปรียบเปรยเมื่อเห็นคนที่มีอายุมากไปจีบเด็กรุ่นลูกหลานหวังจะได้มาเป็นเมีย

ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า

หมายถึงเรื่องราวไม่ดีภายในครอบครัว / องค์กร / หน่วยงาน ไม่ควรนำไปเล่าให้คนภายนอกฟัง และเรื่องราวไม่ดี คำนินทาว่าร้ายที่คนภายนอกพูดถึงคนภายในก็ไม่ควรนำมาเล่าให้ฟัง

ลอยลม

หมายถึงทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

ชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึงทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน)

น้ำขึ้นให้รีบตัก

หมายถึงเมื่อมีโอกาสหรือเมื่อโอกาสมาถึงก็จงรีบคว้าหรือรีบทำ

กงกำกงเกวียน

หมายถึงการกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง

 คำพังเพย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ