ค้นเจอ 8,096 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ทุ, ทร,ทร-, ภุส, ท.ส., ทุร, ทส, ทส., ทุก-

ทุส

อ่านว่าทุด-สะ

ทุส-

อ่านว่าทุด-สะ

ทุส,ทุส-,ทุสสะ

หมายถึง[ทุดสะ-] (แบบ) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).

ทุพภิกขภัย เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ทุภิกขภัย เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ทุรคติ

แยกคำสมาสแบบสนธิเป็นทุสฺ + คติ

ทุ

หมายถึง(แบบ) ว. สอง, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).

ทุร,ทุร-

หมายถึง[ทุระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลำบาก. (ส.).

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

ทุ

หมายถึงดู กระทุ.

ทุรชน

แยกคำสมาสแบบสนธิเป็นทุสฺ + ชน

ทรพิษ

คำบาลีทุร+วิส

คำสันสกฤตทุสฺ+วิษ

ทรลักษณ์

แยกคำสมาสแบบสนธิเป็นทุสฺ + ลักษณ์