ค้นเจอ 377 รายการ

ไม้จำพวกส้ม ลูกสีเหลือง ขนาด 4 - 8 ซม. รสเปรี้ยว นิยมใช้ผสมขนมให้มีกลิ่นหอม

ภาษาญี่ปุ่น柚子

คำอ่านภาษาญี่ปุ่นゆず

n

ไม้จำพวกส้ม ลูกสีเหลือง ขนาด 4 - 8 ซม. รสเปรี้ยว นิยมใช้ผสมขนมให้มีกลิ่นหอม

ภาษาญี่ปุ่น

คำอ่านภาษาญี่ปุ่นゆず

n

final consonant

แปลว่าตัวสะกด

N

อเวจี

หมายถึงน. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสำหรับลงโทษแก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.

สมณบริขาร

หมายถึงน. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).

กฤตติกา

หมายถึง[กฺริดติ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).

แมง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคำว่า แมลง.

ขา

หมายถึงน. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.

Elizabeth I

แปลว่าสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษช่วงปี ค.ศ.1558-1603, พระธิดาของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 และแอนน์โบลีน, สมเด็จพระราชินีนาถของอังกฤษและไอร์แลนด์ในช่วงปี ค.ศ.1533 - 1603

N

Least Common Multiple

แปลว่าตัวคูณร่วมน้อย

N

ผู้ดีแปดสาแหรก

หมายถึงน. ผู้ดีที่สืบทอดกันลงมาตั้งแต่ต้นวงศ์สกุลคือบิดามารดาของปู่และย่า ๔ บิดามารดาของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘; โดยปริยายหมายถึงคนที่ทำกรีดกรายเอาอย่างผู้ดี. (ดู แปดสาแหรก).

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).