ค้นเจอ 169 รายการ

หาบ

หมายถึงก. เอาของห้อยปลายคาน ๒ ข้างแล้วแบกกลางคานพาไป. น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.

บาท

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.

วิ่ง

หมายถึงก. ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน เช่น คนวิ่งไปวิ่งมา ม้าวิ่งในสนาม, แล่นไปโดยเร็ว เช่น เรือวิ่งข้ามฟาก รถวิ่งไปตามถนน; (ปาก) วิ่งเต้น. น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงหลักชัยก่อน ตามระยะทางที่กำหนด เช่น วิ่ง ๑๐๐ เมตร วิ่ง ๔๐ เมตร.

โบราณสถาน

หมายถึง[โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.

สตางค์

หมายถึง[สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มีสตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัดน้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายถึง(กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).

ปอนด์

หมายถึงน. ชื่อหน่วยเงินตราของอังกฤษเท่ากับ ๑๐๐ เพนซ์, ปอนด์สเตอร์ลิง ก็เรียก; ชื่อหน่วยมาตราชั่งของอังกฤษ เท่ากับ ๔๕๔ กรัม หรือ ๑๖ ออนซ์; เรียกกระดาษฟอกเนื้อดี สีขาว ที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพดีกว่ากระดาษปรู๊ฟ ว่า กระดาษปอนด์. (อ. pound).

สภาผู้แทนราษฎร

หมายถึง(กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับวุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.

โบราณวัตถุ

หมายถึง[โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.

อัตราส่วน

หมายถึงน. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดบางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วนไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).

ตัน

หมายถึงน. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่งเท่ากับนํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒.ตันระวางเรือ ถ้าคำนวณระวางบรรทุกสินค้าและห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคำนวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคำนวณนํ้าหนักทั้งลำเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตันระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).

เบี้ย

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสำหรับซื้อขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับสตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคำว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.