ค้นเจอ 425 รายการ

สิถิล

หมายถึงว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มีกลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).

แหลม

หมายถึง[แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญาแหลม; ชำนาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงเป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดินหรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.

อโฆษะ

หมายถึงว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

รยะ

หมายถึงว. เร็ว, พลัน, ไว, ด่วน. (ป., ส.).

เร็ว,เร็ว ๆ

หมายถึงว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

กรรตุวาจก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

การก

หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

คุณนาม

หมายถึง[คุนนะ-] น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช; (ไว; เลิก) คำคุณที่มาใช้เป็นนาม เช่น ความดีความชอบ.