ค้นเจอ 114 รายการ

ศิกษก,ศิกษกะ

หมายถึง[สิก-สก, สิกสะกะ] น. ผู้เล่าเรียน; ครู, ผู้สอน; ผู้รู้. (ส.).

เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ แต่ฝึกอบรมด้วยจริยธรรมแล้วต่างหาก จึงจะสบสันติสุข

เทอม

หมายถึง[เทิม] น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ, ภาคเรียน, เรียกค่าเล่าเรียนที่เก็บในภาคเรียนหนึ่ง ๆ ว่า ค่าเทอม. (อ. term).

นิสิต

หมายถึงน. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).

ศึกษา

คำบาลีสิกฺขา

คำสันสกฤตศิกฺษา

เคี่ยวเข็ญ

หมายถึงก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.

เพดาน

หมายถึงน. ส่วนที่สูงที่สุดของห้องเป็นต้น ไม่ว่าจะมีฝ้าหรือไม่ก็ตาม, ถ้าไม่มีฝ้า หมายถึงส่วนสูงสุดถึงหลังคา, ถ้ามีฝ้า หมายถึงฝ้า; โดยปริยายหมายความว่า ระดับสูงสุด เช่น เพดานค่าเล่าเรียน. (ป., ส. วิตาน).

ธุร,ธุร-,ธุระ

หมายถึง[ทุระ-] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).

สิกขา

หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).

ความรู้

หมายถึงน. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.

one's grandfather all of whom are in the monkhood

แปลว่าหลวงตา

N

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง