ค้นเจอ 703 รายการ

อนุสภากาชาด

หมายถึง(เลิก) น. ชื่อสมาคมสำหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.

อสังกมทรัพย์

หมายถึง[อะสังกะมะซับ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่นที่เป็นประเภทและชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ สังกมทรัพย์.

เมษายน

หมายถึงน. ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งตั้งต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ. (ส. เมษ + อายน).

สังกมทรัพย์

หมายถึง[สังกะมะ-] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่นอันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ อสังกมทรัพย์.

สังฆนายก

หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.

สังฆสภา

หมายถึง(กฎ; เลิก) น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.

ปิดฉาก

หมายถึง(ปาก) ก. เลิก, หยุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ปิดฉากแล้ว.

ไปรษณียวัตถุ

หมายถึง[ไปฺรสะนียะวัดถุ, ไปฺรสะนีวัดถุ] น. (เลิก) พัสดุไปรษณีย์.

กรกฎาคม

หมายถึง[กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.

กรรแซง

หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทำหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง).

กระทง

หมายถึงน. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยนํ้าในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะเหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิในกฎหมายเก่า.

กำหนด

หมายถึง[-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.