ค้นเจอ 45 รายการ

เอื้อนอรรถ,เอื้อนเอ่ย,เอื้อนโอฐ,เอื้อนโอฐ

หมายถึง(กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออกมาง่าย ๆ.

อรรถปฏิสัมภิทา

หมายถึง[อัดถะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).

คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษ ทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถ และเป็นธรรม

ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภ เข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

คุณบท

หมายถึง[คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า “เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง”. (ศิริวิบุลกิตติ).

ชนกกรรม

หมายถึง[ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).

กล่าว

หมายถึง[กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.

วุฒิ

คำบาลีวุฑฺฒิ

คำสันสกฤตวฺฤทฺธิ