ค้นเจอ 227 รายการ

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

กาลิก

หมายถึงน. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่นํ้าอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).

กุศลกรรมบถ

หมายถึง[กุสนละกำมะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).

เครื่องห้า

หมายถึงน. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สำหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สำหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.

โครส

หมายถึง[-รด] น. นมวัว (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง เรียก ปัญจ-โครส หรือ เบญจโครส). (ป., ส.).

จดูร,จดูร-

หมายถึง[จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

จับปลาสองมือ

หมายถึง(สำ) ก. หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่างพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง.

ตรีทิพยรส

หมายถึง[-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.

ตรีผลธาตุ

หมายถึงน. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.

ตรีพิษจักร

หมายถึง[-พิดสะจัก] น. จักรพิษ ๓ อย่าง คือ กานพลู ผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ.

ตรีมธุระ

หมายถึง[-มะทุระ] น. ของมีรสดี ๓ อย่าง คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้ามันเนย.

ตรีวาตผล

หมายถึง[-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.