ค้นเจอ 2,066 รายการ

น้ำตับ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยำให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

โน้ม

หมายถึงว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง.

บวบ

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Luffa วงศ์ Cucurbitaceae ดอกสีเหลือง ผลกินได้ เช่น บวบเหลี่ยม (L. acutangula L.) บวบกลม หรือ บวบหอม (L. cylindrica L.).

บอน

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.) Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทำให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุกซุกปากบอน.

เบ็ด

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสำหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง.

ป่ง

หมายถึงน. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้างคอยยิงสัตว์ที่มากินดินป่งว่า นั่งป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ โป่ง ก็ว่า.

ปฏิมา,ปฏิมากร

หมายถึงน. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียกย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

ปทัฏฐาน

หมายถึงน. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน ก็ว่า. (ป.; ส. ปทสฺถาน).

ปล้อน

หมายถึง[ปฺล้อน] ก. ปลิ้นเปลือกหรือเมล็ดในผลไม้ออกจากปาก เช่น ปล้อนเมล็ดลำไย ปล้อนเมล็ดน้อยหน่า, ลอกเปลือกผลไม้ออก เช่น ปล้อนมะพร้าว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปลิ้น เป็น ปล้อนปลิ้น หรือ ปลิ้นปล้อน มีความหมายอย่างปล้อน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อุบายล่อลวงเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตน.

ปลัดขิก

หมายถึง[ปะหฺลัด-] น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย มักทำด้วยไม้ ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, อ้ายขิก ไอ้ขิก หรือ ขุนเพ็ด ก็เรียก.