ค้นเจอ 755 รายการ

กะปริบ

หมายถึง[-ปฺริบ] ก. กะพริบ, มักใช้ซํ้าคำว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทำตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.

กิระ

หมายถึงว. เล่าลือ เช่น คำกิระ หมายความว่า คำเล่าลือ. (ป.).

คร้าม

หมายถึง[คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.

ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ

หมายถึงว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.

แคลน

หมายถึง[แคฺลน] ว. ขัดสน, อัตคัด, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น ขาดแคลน = ทั้งขาดทั้งแคลน หมายความว่า อัตคัด, ขัดสน ดูแคลน = ดูหมิ่นเพราะเห็นเขาขัดสน ดูหมิ่นถิ่นแคลน = ดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย.

จูงจมูก

หมายถึงก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนำไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน.

ทิคัมพร

หมายถึง[-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).

ทุร,ทุร-

หมายถึง[ทุระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลำบาก. (ส.).

นวก,นวก-,นวก-

หมายถึง[นะวะกะ-] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจำนวน ๙ ทุกอย่าง เช่น รัตนะ ๙ คำสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ในหมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).

นิยมนิยาย

หมายถึง(ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยายไม่ได้ หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.

บรรพชา

หมายถึง[บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชาเป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).

ประดา

หมายถึงว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.